วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Display Card
(การ์ดแสดงผล)

          หลัก การทำงานพื้นฐานของการ์ดแสดงผลจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อโปรแกรมต่างๆ ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ซีพียูเมื่อซีพียู ประมวลผล เสร็จแล้ว ก็จะส่งข้อมูลที่จะนำมาแสดงผลบนจอภาพมาที่การ์ดแสดงผล จากนั้นการ์ดแสดงผล ก็จะส่งข้อมูลนี้มาที่จอภาพ ตามข้อมูลที่ได้รับมา การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาส่วนใหญ่ ก็จะมีวงจรในการเร่งความเร็ว การแสดงผลภาพสามมิติ และมีหน่วยความจำมาให้มากพอสมควร
หน่วยความจำ
          การ์ด แสดงผลจะต้องมีหน่วยความจำที่เพียงพอในการใช้งานเพื่อใช้สำหรับเก็บข้อมูล ที่ได้รับมาจากซีพียู และสำหรับการ์ดแสดงผลบางรุ่น ก็สามารถประมวลผลได้ภายในตัวการ์ดโดยทำหน้าที่ในการประมวลผลภาพแทนซีพียูไป เลยช่วยให้ซีพียูมีเวลาว่างมากขึ้นทำงานได้เร็วขึ้น

          เมื่อ ได้รับข้อมูลจากซีพียูมาแล้ว การ์ดแสดงผลก็จะเก็บข้อมูลที่ได้รับมาไว้ในหน่วยความจำส่วนนี้นี่เอง ถ้าการ์ดแสดงผลมีหน่วยความจำมากๆ ก็จะรับข้อมูลมาจากซีพียูได้มากขึ้น ช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพ มีความเร็วสูงขึ้น และหน่วยความจำที่มีความเร็วสูงก็ยิ่งดี เพราะจะมารถรับส่งข้อมูลได้เร็วขึ้นยิ่งถ้าข้อมูลที่มาจากซีพียูมีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งต้องใช้หน่วยความจำที่มีขนาดใหญ่ๆ เพื่อรองรับการทำงานได้โดยไม่เสียเวลา ข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ๆ นั่นก็คือข้อมูลของภาพที่มีสีและความละเอียดของภาพสูงๆ

ความละเอียดในการแสดงผล
          การ์ด แสดงผลที่ดีจะต้องมีความสามารถในการแสดงผลในความละเอียดสูงๆ ได้เป็นอย่างดี ความละเอียดในการ แสดงผลหรือ Resolution ก็คือจำนวนของจุดหรือพิเซล (Pixel) ที่การ์ดสามารถนำไป แสดงบนจอภาพได้ จำนวนจุดยิ่งมากก็ทำให้ภาพที่ได้มีความคมชัดขึ้นส่วนความละเอียดของสีก็คือ ความสามารถในการแสดงสีได้ในหนึ่งจุด จุดที่พูดถึงนี้ก็คือจุดที่ใช้ในการแสดงผลในหน้าจอ เช่น โหมดความละเอียด 640x480 พิกเซล ก็จะมีจุดเรียงตามแนวนอน 640 จุด และจุดเรียงตามแนวตั้ง 480 จุด

          โหมด ความละเอียดที่เป็นมาตราฐานในการใช้งานปกติก็คือ 640x480 แต่การ์ดแสดงผลส่วนใหญ่ สามารถที่จะแสดง ผลได้หลายๆ โหมด เช่น 800x600, 1024x768 และการ์ดที่มีประสิทธิภาพสูงก็จะ สามารถแสดงผลในความละเอียด 1280x1024 ส่วนความละเอียดสก็มี 16 สี, 256 สี, 65,535 สี และ 16 ล้านสีหรือมักจะเรียกกันว่า True Color

อัตราการรีเฟรชหน้าจอ
          การ์ด แสดงผลที่มีประสิทธิภาพ จะต้องมีอัตราการรีเฟรชหน้าจอได้หลายๆ อัตรา อัตราการรีเฟรชก็คือ จำนวนครั้งในการกวาดหน้าจอใหม่ในหนึ่งวินาทีถ้าหากว่าอัตรารีเฟรชต่ำจะทำให้ ภาพบนหน้าจอมีการกระพริบ ทำให้ผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์เกิดอาการล้าของกล้ามเนื้อตาและอาจทำให้เกิด อันตรายกับดวงตาได้

          อัตราการรีเฟรชในปัจจุบันอยู่ที่ 72 เฮิรตซ์ ถ้าใช้จอภาพขนาดใหญ่อัตรารีเฟรชยิ่งต้องเพิ่มมากขึ้นอัตรา
รีเฟรชยิ่งมากก็ยิ่งดี

ปัญหาและการแก้ปัญหาที่เกิดจาก
 Display Card


VGA-AGP
VGA-PCI
- ปัญหา เคลื่อนย้ายเครื่องแล้วเปิดเครื่องได้ยินเสียงทำงาน แต่หน้าจอไม่มีภาพ
สาเหตุ
          การ์ดจอแบบ AGP จะมีสล็อตสำหรับใส่ที่พอดีหรือตึงมากเราติดตั้งการ์ดเข้ากับสล็อตจะต้องดันให้สุดและขันน็อตเข้ากับตัวเคส ซึ่งในช่วงนี้
วิธีการแก้ปัญหา
          ให้เปิดฝาเครื่องออกมาตรวจดูหากพบว่าตัวการ์ดหลวมหลุดให้ดันการ์ดกลับเข้าไปในสล็อตให้แน่นเหมือนเดิม โดยไม่ต้องคลายน็อต (เพราะจะกระดกหลุดออกมาอีก) หากพบว่าหลายวงจรที่ขาการ์ดสกปรกให้ถอด 
ออกมาแล้วใช้ยางลบดินสอทำความสะอาดแล้งจึงใส่กลับเข้าไปใหม่ ก็คงจะใช้การได้เหมือนเดิม

- ปัญหา เล่นเกมบางทีภาพกระตุก แฮงค์ค้าง
สาเหตุ
          ปัญหานี้เกิดได้หลายสาเหตุเช่น อาจเป็นเพราะการ์ดจอที่ใช้อยู่มีประสิทธิภาพไม่ดีพอไม่สามารถเล่นเกมที่ใช้กำลังเครื่องมากได้ บางครั้งอาจเกิดจากพัดลมระบายความร้อนบนชิปกราฟิคสกปรกทำให้ หมุนช้าลง หรือไม่หมุนเลยส่วนสาเหตุที่แย่ที่สุดคือ ชิปกราฟิคมีปัญหาหรือเสียซึ่งคงต้องเปลี่ยนการ์ดจอใหม่เลย
วิธีการแก้ปัญหา
          1.เปิด ฝาเครื่องออกและลองเปิดเครื่องตรวจดูว่าพัดลมระบายความร้อนของชิปกราฟิคหมุน หรือไม่ หากไม่หมุนต้องดูว่าพัดลมสกปรกมีคราบฝุ่นละอองเกาะติดอยู่หรือไม่ ให้ใช้ยาสเปรย์ฉีดพร้อมกับใช้ไม้สำลีเช็ดให้สะอาด
          2.หากพบว่าพัดลมระบายความร้อนชิปกราฟิคเสีย ให้ซื้อมาเปลี่ยนใหม่ หลังจากเปลี่ยนพัดลมตัวใหม่ก็คงเล่นเกมได้มันสะใจขึ้น

ปัญหา การ์ดจอ Onpoard เสีย
          ปัญหานี้จะแสดงอาการออกมาในลักษณะเปิดเครื่องได้เห็นไฟเข้าเครื่องทำงานปกติแต่หน้าจอจะไม่มีภาพอะไรเลย ผู้ใช้หลายคนนึกว่าเมนบอร์ดเสีย จึงไปหาซื้อเมนบอร์ดมาเปลี่ยนใหม่ทำให้เสียเงินไปโดยใช่เหตุ
สาเหตุ
          ปัญหานี้สาเหตุเป็นเพราะระบบแสดงผลของชิปเซ็ตบนเมนบอร์ดเสีย ทำให้ไม่มีภาพปรากฎบนหน้าจอ
วิธีการแก้ปัญหา
          ในการแก้ไขปัญหาก็ให้ทำการจัมเปอร์บนเมนบอร์ดเป็น Disable หรือกำหนดค่าในไบออสให้เป็น Disable ขึ้นอยู่กับรุ่นของเมนบอร์ด แล้วนำการ์ดจอมาติดตั้งลงในสล็อต AGP แทน หากเป็นรุ่นไม่มี สล็อต AGP ก็คงต้องหาซื้อการ์ด PCI มาติดตั้งแทนเมนบอร์ดบางรุ่นอาจจะพบและทำงานกับการ์ดจอที่ติดตั้งเข้าไปโดยไม่ต้อง Disable ในจัมเปอร์หรือไบออสแต่อย่างใด สำหรับขั้นตอนการยกเลิกใช้งานการ์ดจอ Onboard โดยการกำหนดจัมเปอร์มีขั้นตอนดังนี้
          1. เปิดฝาเครื่องออกให้สังเกตจัมเปอร์บนเมนบอร์ดที่มีตัวอักษรกำกับว่า VGA หรือให้ดูจากคู่มือเมนบอร์ด
          2. เมื่อพบแล้วให้เปลี่ยนจัมเปอร์ ซึ่งอาจเป็นการถอดออกหรือเปลี่ยนขา จากขา 1,2 เป็น 2,3 อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
          3. ให้ติดตั้งการ์ดจอใหม่ลงเครื่อง ปิดฝาและเปิดเครื่อง หลังจากนั้นให้ลงไดรเวอร์ให้เรียบร้อยก็ใช้งานได้

การติดตั้งการ์ดจอ
          1. ก่อนที่จะทำการใดๆ ให้คุณกราวน์ตัวเองก่อน โดยการเอามือไปแตะที่ตัวเคส
          2. พยายามนำเอาสายไฟที่กีดขวางอยู่ออกไปทางด้านข้าง ถ้าไม่จำเป็นอย่าถอดออกมา เพราะคุณอาจจะลืมไปว่า คุณถอด ออกมาจากที่ใด
          3. ให้ตรวจดูสล็อตสำหรับติดตั้งการ์ดจอโดยการ์ดรุ่นใหม่ จะใช้สล็อต AGP กันหมดแล้ว จุดสังเกตคือ เป็นสล็อตสี น้ำตาลเข้มที่อยู่ด้านบนใกล้กับซีพียู (ถ้าเป็นสล๊อต PCI จะเป็นสีขาว)
          4. ใน การจับการ์ดให้คุณจับในบริเวณที่เป็นพลาสติก ห้ามจับในบริเวณที่เป็นแถบทองแดงด้านล่างของการ์ด เพราะฝุ่นผง ที่มือคุณอาจจะไปทำให้ทางเดินไฟฟ้าสะดุดได้
          5. เสียบตัวการ์ดลงไปตรงๆ
          6. ค่อยๆ กดตัวการ์ดลงไปเบาๆ ถ้ากดแล้วไม่ลงอย่าพยายามฝืน ให้ถอดออกแล้วเสียบลงไปใหม่
          7. ใช้ไขควงขันน็อตให้เรียบร้อย



Memory คืออะไร

            Memory (หน่วยความจำ) เป็นอุปกรณ์อีเลคโทรนิคส์ ที่ใช้เก็บคำสั่ง และข้อมูลที่ไมโครเซสเซอร์ สามารถเข้าถึงได้เร็ว เมื่อคอมพิวเตอร์ อยู่ในการทำงานปกติ หน่วยความจำจะเก็บส่วนใหญ่ของระบบปฏิบัติการ และโปรแกรมประยุกต์บางส่วนหรือทั้งหมด และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน หน่วยความจำมักจะใช้ ในความหมายเดียวกับหน่วยความจำชั่วคราว หน่วยความจำชนิดนี้ ตั้งอยู่บนไมโครซิปหนึ่ง หรือมากกว่า ใกล้กับไมโครโพรเซสเซอร์ในคอมพิวเตอร์ การมีขนาด RAM ยิ่งมากจะช่วยลดความถี่ของคอมพิวเตอร์ ในการเข้าถึงคำสั่ง และข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ที่ใช้เวลามาก บางครั้งหน่วยความจำได้รับการแยก จากการเป็นที่เก็บ หรือตัวกลางทางกายภาคที่ใช้เก็บข้อมูล จำนวนมากที่มากกว่า RAM และอาจจะไม่ต้องการในเวลานั้น อุปกรณ์การเก็บรวมถึงฮาร์ดดิสก์, ฟล๊อปปี้ดิสก์, CD-ROM และระบบเทปสำรองข้อมูล คำว่า auxiliary storage, auxiliary memory และ secondary memory ใช้สำหรับที่เก็บข้อมูลประเภทนี้
หน่วยความจำอีกชนิดที่เข้าถึงได้เร็ว คือ read-only-memory (ROM), programmable ROM และ erasable programmable ROM หน่วยความจำเหล่านี้ใช้เก็บโปรแกรมพิเศษและข้อมูล เช่น basic input/output system (BIOS) ซึ่งคอมพิวเตอร์ต้องการตลอดเวลา
  Read-Only Memory (ROM) เป็นหน่วยความจำที่ติดมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเก็บข้อมูลประเภทที่ตามปกติให้อ่านอย่างเดียว ROM มีโปรแกรมที่ยินยอมให้คอมพิวเตอร์ "booted up" หรือเรียกใช้เมื่อเปิดเครื่อง ROM จึงแตกต่างจาก RAM โดยที่ข้อมูลของ ROM ไม่เคยหายไปเมื่อปิดเครื่อง โดย ROM ได้รับไฟเลี้ยงจากแบตเตอรี่ภายในเครื่อง
 ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)
        มีหลักการทำงานคล้ายกับฟอลป ปี้ดิสก์ แต่ฮาร์ดดิสก์ทำมาจากแผ่นโลหะแข็งเรียกว่า Platters ทำให้เก็บข้อมูลได้มากและทำงานได้รวดเร็ว ฮาร์ดดิสก์ส่วนมากจะถูกยึดติดอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ก็มีบางรุ่นที่เป็นแบบ เคลื่อนย้ายได้ (Removable Disk) โดยจะเป็นแผ่นจานแม่เหล็กเพียงแผ่นเดียวอยู่ในกล่องพลาสติกบาง ๆ มีลักษณะคล้ายกับฟอลปปี้ดิสก์ ตัวอย่างเช่น Jaz หรือ Zip Disk จาก lomega หรือ Syjet จาก Syquest ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลได้ตั้งแต่ 1 จิกะไบต์ขึ้นไป ในแผ่นขนาดประมาณ 3.5 นิ้ว เท่านั้น และตัวไดร์ฟจะมีทั้งรุ่นที่ต่อกับคอมพิวเตอร์ทางพอร์ตขนานหรือ SCSI
        ฮาร์ดดิสก์ที่นิยมใช้กับ เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน จะประกอบด้วยจานแม่เหล็กหลาย ๆ แผ่น และสามารถบันทึกข้อมูลได้ทั้งสองหน้าของผิวจานแม่เหล็ก โดยที่ทุกแทร็ก (Track) และ เซกเตอร์ (Sector) ที่มีตำแหน่งตรงกันของฮาร์ดดิสก์ชุดหนึ่งจะเรียกว่า ไซลินเดอร์ (Cylinder)
        แผ่นจานแม่เหล็กของ ฮาร์ดดิสก์นั้นหมุนเร็วมาก โดยที่หัวอ่านและบันทึกจะไม่สัมผัสกับผิวของแผ่นจานแม่เหล็ก ดังนั้นจึงอาจมีความผิดพลาดหรือเสียหายเกิดขึ้นได้ถ้ามีบางสิ่งอย่างเช่น ฝุ่น หรือควันบุหรี่ กีดขวางหัวอ่านและบันทึก เพราะอาจทำให้หัวอ่านและบันทึกกระแทรกกับผิวของแผ่นจานแม่เหล็ก
        การที่ฮาร์ดดิสก์มี ประสิทธิภาพและความจุที่สูง เนื่องจากฮาร์ดดิสก์หนึ่งชุดประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็กจำนวนหลายแผ่นทำให้ เก็บข้อมูลได้มากกว่าฟลอปปี้ดิสก์ โดยฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบันจะมีความจุเริ่มตั้งแต่ 10 GB ขึ้นไป นอกจากนี้ ฮาร์ดดิสก์จะหมุนด้วยความเร็วสูงมาก คือตั้งแต่ 5,400 รอบต่อนาทีขึ้นไป ทำให้สามารถอ่านข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ฮาร์ดดิสก์รุ่นใหม่ ๆ ส่วนมากจะมี ความเร็วในการอ่านข้อมูลเฉลี่ย (Averge access time) อยู่ต่ำกว่า 10 มิลลิวินาที (mis)
        การเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์กับ แผงวงจรหลักจะต้องมี ส่วนเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์ (Hard disk interface) ซึ่งจะมีวงจรมาตรฐานที่ทั้งแผงวงจรหลักและฮาร์ดดิสก์รู้จัก ทำให้ข้อมูลสามารถส่งผ่านระหว่างแผงวงจรหลักและฮาร์ดดิสก์ได้ มาตรฐานส่วนเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ EIDE (Enhanced Integrated Drive Electronics) และ SCSI (Small Computer System Interface)
ฟลอปปี้ไดรฟ์ (Floppy Drive) หรือ เครื่องขับดิสก์ (ดิสก์เกตต์) คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการอ่าน ถ่ายโอนและบันทึกข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์กับสื่อบันทึกข้อมูลประเภทแผ่นดิสก์เกตต์ (diskette) ในอดีตเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีฟลอปปี้ไดร์ฟติดตั้งมาเป็นมาตรฐานคะ แต่ว่าในปัจจุบันความนิยมลดลงมากแทบจะไม่มีผู้ใช้แล้ว เพราะว่าแผ่นดิสก์เกตต์ จุดข้อมูลได้เพียง 1.44 เมกกะไบต์ หรือ 2.88 เมกกะไบต์ เท่านั้น นอกจากนี้ยังมีสื่อบันทึกข้อมูลอื่น ๆ ที่มีความจุมากกว่าพัฒนาขึ้นมาแทนที่ ทั้งแผ่นซีดี แผ่นดีวีดี แฟลชไดร์ฟ คะ  ทั้งนี้ฟลอปปี้ไดร์ฟที่อยู่รอด ยังมีผู้ใช้กันจนถึงปัจจุบันนี้คือ ฟลอปปี้ไดร์ฟสำหรับอ่านแผ่นดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว

Tape คืออะไร

            ในคอมพิวเตอร์ tape (เทป) เป็นตัวอย่างจัดเก็บภายนอก ตามปกติเขียนได้และอ่านได้ ประกอบด้วยม้วนวัสดุเซลลูลอยด์ยืดหยุ่นที่สามารถเก็บข้อมูลในรูปแบบของ electromagnetic charge ที่สามารถอ่านและลบได้ ไดร์ฟของเทปเป็นอุปกรณ์ที่หาตำแหน่ง เขียน และอ่านไปยังเทป tape cartridge เป็นภาชนะห่อหุ้มเทปที่กระทัดกระรัด
ในคอมพิวเตอร์ธุรกิจยุคแรก เทปเป็นตัวกลางจัดเก็บหลักและผู้ปฏิบัติงานระบบคอมพิวเตอร์ใช้เวลาจำนวนมากในใส่และถอดเทปสำหรับการงานต่างกันในเวลาต่างกันของแต่ละวัน ด้วยการพัฒนาดิสก์แม่เหล็ก เทปได้กลายเป็นตัวกลางสำหรับสำรองข้อมูลจำนวนมากบนเคื่องเมนเฟรม การพิจารณาในอีกด้าน ข้อเสียเปรียบของเทป คือ สามารถเข้าถึงเป็นเส้นตรงที่จุดเริ่มต้นและหมุนเทปจนกระทั่งถึงตำแหน่งข้อมูลที่ต้องการ ด้วยเหตุผลนี้ โปรแกรมประยุกต์หลักสำหรับการประมวลผลแบบ batch ของข้อมูลจำนวนมาก (ตัวอย่างคลาสสิคคือ ระบบเงินเดือน)
ทุกวันนี้ เทปยังคงใช้ได้กว้างขวางบนเครื่องเมนเฟรมสำหรับการสำรองข้อมูล ซอฟแวร์ได้ให้การจัดการสำรองอัตโนมัติ บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เทปได้รับการใช้สำหรับการสำรองข้อมูล
 
จานแม่เหล็ก (Magnetic Disk) 
           สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก เข้าถึงข้อมูลโดยตรง ไม่ต้องอ่านไปตามลำดับเหมือนเทป จานแม่เหล็กต้องใช้ควบคู่กับตัวขับจานแม่เหล็ก หรือดิสก์ไดร์ฟ เป็นอุปกรณ์สำหรับเขียนอ่านจานแม่เหล็ก 
           เป็นสื่อของการใช้หลักการเข้าถึงข้อมูลแบบสุ่ม ก่อนที่จะใช้จานแม่เหล็กเก็บข้อมูล จะต้องผ่านขั้นตอนการฟอร์แมตก่อน เพื่อเตรียมจานแผ่นแม่เหล็กให้พร้อมสำหรับเครื่องรุ่นที่จะใช้งาน โดยหัวอ่านและบันทึกจะเขียนรูปแบบของแม่เหล็กลงบนผิว ของแผ่นจานแม่เหล็ก เพื่อให้การบันทึกข้อมูลลงแผ่นจานแม่เหล็กในภายหลังทำตมรูปแบบดังกล่าว การฟอร์แมตแผ่นจานบันทึกจัดเป็นงานพื้นฐานหนึ่งของระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ข้อมูลขะถูกบันทึกลงบนแผ่นจานที่ฟอร์แมตไว้แล้ว คือแบ่งในแนว วงกลมรอบแกนหมุนเป็นหลายๆ วงเรียกว่า แทรก แต่ละแทรกถูกแบ่งออกเป็นชั้นขนมเค้ก เยกว่า เซกเตอร์ และถ้ามีเซกเตอร์มากกว่าหนึ่งเซกเตอร์เรียรวมกันว่าคลัสเตอร์ ในปัจจุบันมีจานแม่เหล็กที่ได้รับความนิยมสูงสุดอยู่สองชนิด คือ ฟลอปปีดิสก์ และ ฮาร์ดดิสก์ 

วอร์มซีดี (Worm CD)
          สามารถบันทึกข้อมูลลงในแผ่นวอร์มซีดีได้หนึ่งครั้ง และสามารถอ่านข้อมูลที่บันทึกไว้ขึ้นมากี่ครั้งก็ได้ แต่จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลที่เบไว้ได้อีกต่อไป แผ่นวอร์มซีดีสามารถเก็บข้อมูลได้ตั้งแต่ 600 เมกะไบต์ ไปจนถึงมากกว่า 3 จิกะไบต์ วอร์มซีดีมีจุดด้อยกว่าซีดีรอมในเรื่องของการไม่มีมาตรฐานที่แน่นอนคือแผ่นวอร์มซีดีต้องใช้กับเครื่องอ่านรุ่นเดียวที่ใช้กับการบันทึกเท่านั้น ทำให้มีการใช้งานในวงแคบ 

ดีวีดี (DVD)
          แผ่นดีวีดีสามารถเก็บข้อมูลได้ต่ำสุดที่ 4.7 จิกะไบต์ ซึ่งเพียงพอสำหรับเก็บภาพยนตร์ได้เต็มเรื่องข้อกำหนดของดีวีดี มีควาวมจุได้ตั้งแต่ 4.7 GB ถึง 17 GB และมีความเร็วในการเข้าถึง อยู่ที่ 600 กิโลไบต์ต่อวินาที ถึง 1.3 เมกะไบต์ต่อวินาที รวมทั้งสามารถอ่านแผ่นซีดีรอมแบบเก่าได้ด้วย และยังมีข้อกำหนดสำหรับเครื่องรุ่นที่สามารถอ่านและเขียนแผ่นดีวีดีได้ในตัว ซึ่งกำลังจะตามออกมา
บทที่ 1
คำศัพท์
คำอ่าน
คำแปล
1
ISA- Steckplatze
I-S-A- Steckplatze
สล้อตเสียบการ์ด ISA
2
PCI-Steckplatze
P-C-I-steck-pla-tze
สล้อตเสียบการ์ด PCI
3
Chipsatz
Chip-satz
ชิปที่รวมคำสั่งสนับสนุนของเมนเบอร์
4
Slot
Slot
ช่อเสียบอุปกรณ์เพิ่มเติม
5
Stromstecker
Storm-stec-ker
ช่องสำหรับเสียบสาย Power
6
Socket
Soc-ket
ส่วนที่ใช้ใส่ CPU
7
Power Supply
Po-wer-sup-ply
เพาเวอร์ซัพพลาย
8
Mother Board
Mo-ther-board
มาเธอร์บอร์ด
9
Main Board Server
Main-board-Ser-ver
เมนบอร์ดเซอร์เวอร์
10
Main Board
Main-board
เมนบอร์ด



บทที่ 2
คำศัพท์
คำอ่าน
คำแปล
1
Analog Computer
อนาล็อกคอมพิวเตอร์
เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกค์ที่ไม่ใช้ค่าตัวเลข
2
Digital Computer
ดิจิตอลคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ที่พบในปัจจุบัน
3
Micro Computer
ไมโครคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก
4
Engineering Workstation
เอนจีเนียริง เวิร์คสเตชั่น
สถานีงานวิศวกรรม
5
Mini Computer
มินิคอมพิวเตอร์
มินิคอมพิวเตอร์จะมีความเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์
6
Mainframe Computer
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เครื่องหลัก
7
Super Computer
ชูเปอร์คอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถสูง
8
Input
รับเข้าข้อมูล
เริ่มต้นข้อมูล
9
Process
ประมวลผล
คิด คำนวณ
10
Output
ผลลัพธ์
แสดงผล


บทที่ 5
คำศัพท์
คำอ่าน
คำแปล
1
Hard Disk
ฮาร์ด-ดิสก์
ฮาร์ดดิสก์
2
Aluminum
อะ-ลู-มิ-นัม
อลูมิเนียม
3
Alloy
เอ-โล
โลหะผสม
4
Patter
เพล-เตล
เสียงกุกกัก
5
Sector
เซก-เตอร์
ภาค
6
Cylinder
ซาย-แรน-เดอร์
กระบอกสูบ
7
Clusters
คัล-เตอร์
เครือข่ายวิสาหกิจ
8
Format
ฟอ-แมต
จัดรูปแบบ
9
Random
แรน-ดอม
สุ่ม
10
Seek Time
ชีก-ทาม
ขอเวลา