วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

บทที่6
คำศัพท์
คำอ่าน
คำแปล
1.Display Card
ดิสเพลการ์ด
การ์ดจอ
2.CRT
ซีอาร์ที
จอภาพแบบซีอาร์ที
3.LCD
แอลซีดี
จอภาพแบบแอลซีดี
4.Monitor
มอนิเตอร์
จอภาพ
5.Thin film transistor
ทีนฟิลล์ซิสเตอร์
แผ่นฟิลล์บาง-ทรานซิสเตอร์
6.Dot pitch
ดอตเฟิส
ขนาดของจุด
7.VGA
วีจีเอ
การ์ดวีจีเอ
8.Super VGA
ซูเปอร์วีจีเอ
ซูเปอร์การ์ดวีจีเอ
9.graphic accelerator
กราฟฟิกแอกเซลเลอเรเตอร์
การ์ดที่ใช้ตัวเลขกราฟฟิก
10.AGP
เอพีจี
การ์ดแสดงแบบเอจีพี


บทที่7
คำศัพท์
คำอ่าน
คำแปล
1.Modem
โมเด็ม
การแปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นเสียง
2.Sound card
ซาวด์การ์ด
การ์ดแสดงเสียง
3.ISA
ไอเอสเอ
การ์ดแสดงเสียงแบบไอเอสเอ
4.PCI
พีซีไอ
การ์ดแสดงเสียงแบบพีซีไอ
5.External modem
เอสเทอร์นอล โมเด็ม
โมเด็มที่ติดตั้งภายนอก
6.Bit rate
บิทแรร์
อัตราการส่งข้อมูล
7.Baud rate
ไบยแรร์
อัตราการแปลงเปลี่ยน
8.pcmica modem
พีซีเอมไอเอ โมเด็ม
เสียบกับโน๊ดบุค
9.Cable
เคเบิล
สายเคเบิล
10.Sound no board
ซาวด์ออนบอร์ด
การแสดงเสียงภายในตัวฟ

วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

สิ่งที่ถือว่าเป็นอันตรายสามารถทำร้ายเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เสียหายก่อนถึงเวลาอันควรนั้น  ได้แก่
         
          1. ความร้อน  ได้แก่  ความร้อนที่เกิดขึ้นภายในเครื่องคอมพพิวเตอร์เองและภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์  เนื่องจาก  คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าในการทำงาน  เป็นสาเหตุให้มีกระแสไฟฟ้าที่เป็นพลังงานให้กับอุปกรณ์ภายในบางส่วนสูญเสีออกมาในรูปของ
ความร้อน ซึ่งความร้อนนี้เองเป็นสาเหตุของความเสียหายกัยอุปกรณ์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์

           2. ฝุ่นผง  อาจทำให้เกิดปัญหาหลายอย่าง  เพราะฝุ่นสามารถเกาะพื้นผิวชิ้นส่วนอุปกรณ์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์  เช่น  แผงวงจรภายใน 
เมื่อนานๆ  ไปจะเคลือบหนาขึ้นและยึดติดแน่นจนทำให้เป็นฉนวนกั้นความร้อนทำให้แผงวงจรนั้นไม่สามารถระบายความร้อนได้ซึ่งเป็นผลเสียต่อ
เครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง  เพราะฉะนั้น  ควรกำจัดฝุ่นผงภายในเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างสม่ำเสมอ  ถ้าเป็นเครื่องที่ใช้ในบ้านควรทำความสะอาด อย่างน้อยปีละ
1 ครั้ง  ถ้าเป็นเครื่องที่ใช้ภายในสำนักงาน  ควรทำความสะอาดทุก 6 เดือน
          หรือแม้แต่พัดลมระบายความร้อน  ถ้ามีฝุ่นมากๆ ก็อาจทำให้ทำงานติดขัด  การระบายความร้อนทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร
          วิธีการแก้ปัญหานี้  คือ ถ้าเกิดเป็นห้องที่มีการติดเครื่องปรับอากาศแล้ว  ต้องสำรวจว่ามีเครื่องกรองอากาศเพื่อลดผุ่งละอองในห้องแล้วหรือยัง
สำหรับห้องที่ไม่ใช้ห้องปรับอากาศ  อาจจะให้อุปกรณ์หรือผลิตภัณฆ์ทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์  เช่น แปรง  และชุดดูดฝุ่นเล็กๆ  ซึ่งจะช่วยยืด
อายุการทำงานของคอมพิวเตอร์ได้เลยทีเดีียว  แต่ที่สำคัญไม่ควรนำเครื่องดูุดฝุ่นสำหรับใช้ในบ้านเรือนหรือในรถยนต์มาดูดฝุ่นคอมพิวเตอร์เด็ดขาด 
เพราะนอกจากฝุ่นแล้วชิ้นส่วนบางส่วนชิ้นบนเมนบอร์ดอาจดูดไปด้วย

          3. แม่เหล็ก  ไม่ได้สร้างความเสียหายให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง  แต่จะสร้างความเสียหายให้กับข้อมูลที่อยู่แผ่นดิสก์หรือแม้กระทั่งฮาร์ดิสก์ ได้  ซึ่งอาจถึงขั้นไม่ได้เลย  จอภาพก็เป็นแหล่งกำเนิดแรงแม่เหล็กด้วย  เช่นกัน  ดังนั้น  ถ้าผู้ใช้เผลอวางแผ่นดิสก์ไว้ใกล้จอภาพก็อาจทำให้ข้อมูลภาบใน
ดิสก์เสียหาย  ลำโพงก็เป็นแหล่งกำเนิดแม่เหล็กได้เช่นกัน  รวมถึงมอเตอร์ที่ภายในเครื่องพิมพ์ก็เป็นแหล่งกำเนิดแม่เหล็กได้เช่นกัน
          4. น้ำและของเหลว  เป็นสิ่งที่มีผลกระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ง่าย  สาเหตุเพราะ  น้ำและของเหลวจะเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ได้หลายทาง
ด้วย กันทางที่ดีควรหาพลาสติกมาคลุมเครื่องไว้เมื่อไม่ใช้งาน
          5. กระบวนการเกิดสนิม  ตัวการที่ก่อให้เกิดสนิมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งภายนอกและแผงวงจรภายใน  ได้แก่
                    - เกลือและเหงื่อ
                    - น้ำ
                    - อากาศ (ที่มีกรดซัลฟูริก กรดเกลือ  หรือกรดคาร์บอนิกส์)
          ปัญหาใหญ่  ก็คือ  การเกิดสนิมที่อุปกรณ์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์  เพราะอาจทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถใช้งานได้หรือทำงานผิดพลาด
 เพราะฉะนั้น  จึงควรระมัดระวังสิ่งที่จะทำให้เกิดสนิม  สิ่งที่เป็นอันตรายต่อเครื่องคอมพิวเตอร์
          6. ระบบไฟฟ้า  สำหรับคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เสริมที่เรียกว่า UPS ซึ่งคววรจะเป็นแบบที่มีทั้งระบบไฟฟ้าสำรองและระบบควบคุม
กระแสไฟฟ้า  ที่เรียกว่า  สเตบิไลเซอร์ (Stabilizer)
          ถ้าเกิดไฟฟ้าดับภายในบ้าน  ก็ยังมีเวลาบันทึกไฟล์เก็บไฟล์ได้ทัน  หรือถ้ากรณีไฟตก ไฟเกิน ไฟกระชาก ตัวสเตบิไลเซอร์ก็จะกักไฟฟ้าส่วน
เกินหรือเสริมส่วนที่ขาดไม่ให้คอมพิวเตอร์ต้องเกิดความเสียหา

          

          7. ไฟฟ้าสถิตหรือฟ้าผ่า  ชิ้นส่วนของคอมพิวเตอร์ที่อยู่บนเมนบอร์ดแทบทุกชิ้นจะไวต่อไฟฟ้าวถิตมาก  ยิ่งเมื่อถึงเวลาอากาศหนาวๆ แล้ว (ต่างประเทศ) จะต้องมีดทปติดกับข้อมือแล้วต่อสายไฟฟ้าที่เป็นสายดิน  เพื่อป้องกันไม่ให้ไฟฟ้าสถิตจากตัวสร้างความเสียหายให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
แต่ถ้าวันไหนเพียงรู้สึกว่าอากาศแห้งๆแล้วควรลดไฟฟ้าสถิตในตัวเองงก่อนเช่นสัมผัสกับโลหะชิ้นอื่นอย่างตู้เอกสารโลหะก่อนที่จะเริ่มเปิดฝาเครื่อง
คอมพิวเตอร์เพื่อดูชิ้นส่วนภายใน
        อีกสิ่งที่สร้างความเสียหายรุนแรงให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์  คือ  ฟ้าผ่า  แม้ว่าฌอกาสจะเกิดได้ยาก เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่มีสายอากาศ
แบบโทรทัศน์  แต่เวลามีพายุฝนฟ้าคะนอง  ไฟฟ้าสถิตในอากาศขณะนั้นจะสูง  ความชื่นก็สูงด้วย  ทางที่ดีอย่าพยายามเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ในช่วง

ที่มีพายุฝนฟ้าคะนอง  เพราะแม้ว่าฟ้าจะไม่ได้ผ่าลงเครื่องโดยตรง  แต่ไฟฟ้าสถิตในอากาศก็สามารถสร้างความเสียหายให้คอมพิวเตอร์ในขณะที่กำลัง
ทำงานอยู่ได้
การดูแลและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เมื่อใช้ไประยะหนึ่งจะมีการเสื่อมชำรุดไปตามสภาพระยะเวลาที่ใช้งานผู้ใช้คอมพิวเตอร์จึงควรเอาใจใส่ดูแลและบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม
สม่ำเสมอเพื่อเพิ่มอายุ การใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งจะช่วยให้สามารถ ประหยัดงบประมาณในการซ่อมบำรุงหรือการเปลี่ยนอุปกรณ์
   สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมที่คอมพิวเตอร์ของคุณจะทำงานได้ดีนั้นคืออย่างไร เช่น ในห้องคอมพิวเตอร์ของคุณควรจะมีอุณหภูมิสูงเท่าไรมีความชื้นไม่เกินเท่าไร ขีดจำกัดของการทำงานเป็นอย่างไรระยะเวลาในการทำงานของเครื่องเป็นอย่างไรดังนั้นห้องทำงานด้านคอมพิวเตอร์จึงควรเป็นห้องปรับอากาศที่ปราศจากฝุ่นและความชื้น ซอฟแวร์แผ่นดิสก์ที่เก็บซอฟแวร์และไฟล์ข้อมูล หรือสารสนเทศนั้นอาจเสียหายได้ ถ้าหากว่าแผ่นดิสต์ได้รับการขีดข่วนได้รับความร้อนสูงหรือตกกระทบกระแทกแรงๆ สิ่งที่ทำลายซอฟแวร์ได้แก่ ความร้อน ความชื้น ฝุ่น ควัน และการฉีดสเปรย์พวกน้ำยาหรือน้ำหอม ต่าง ๆ เป็นต้น การทำความสะอาดระบบคอมพิวเตอร์
1. ไม่ควรทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ในขณะที่เครื่องยังเปิดอยู่ ถ้าคุณจะทำความ สะอาดเครื่อง ควรปิดเครื่องทิ้งไว้ 5 นาที ก่อนลงมือทำความสะอาด
2. อย่าใช้ผ้าเปียก ผ้าชุ่มน้ำ เช็ดคอมพิวเตอร์อย่างเด็ดขาด ใช้ผ้าแห้งดีกว่า
3. อย่าใช้สบู่ น้ำยาทำความสะอาดใด ๆ กับคอมพิวเตอร์ เพราะจะทำให้ระบบของเครื่อง เกิดความเสียหาย
4. ไม่ควรฉีดสเปรย์ใด ๆ ไปที่คอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ
5. ไม่ควรใช้เครื่องดูดฝุ่นกับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ
6. ถ้าคุณจำเป็นต้องทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรดใช้อุปกรณ์ทำความสะอาด ที่คู่มือแนะนำไว้เท่านั้น
7. ไม่ควรดื่มน้ำชา กาแฟ เครื่องดื่มต่าง ๆ ในขณะที่ใช้คอมพิวเตอร์
8. ไม่ควรกินของคบเคี้ยวหรืออาหารใด ๆ ขณะทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
การ Defrag ฮาร์ดดิสก์ เพื่อเพิ่มความเร็วให้กับการทำงานของระบบ
การทำ Defrag ฮาร์ดดิสก์หรือ Disk Defragmenter ก็คือการทำการจัดเรียงข้อมูลของไฟล์ต่าง ๆ ที่เก็บอยู่ในฮาร์ดดิสก์ ให้มีความต่อเนื่องหรือเรียงเป็นระบบต่อ ๆ กันไป ประโยชน์ที่จะได้รับคือ ความเร็วในการอ่านข้อมูลของไฟล์นั้น จะมีการอ่านข้อมูล ได้เร็วขึ้น ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่นถ้าหากมีไฟล์ที่เก็บอยู่ในฮาร์ดดิสก์ ที่มีการเก็บข้อมูลแบบกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป เมื่อต้องการอ่าน ข้อมูลของไฟล์นั้น หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ก็จะต้องมีการเคลื่อนย้ายไปมาเพื่อทำการอ่านข้อมูลจบครบ หากเรามีการทำ Defrag ฮาร์ดดิสก์ แล้วจะทำให้การเก็บข้อมูลจะมีความต่อเนื่องกันมากขึ้น เมื่อต้องการอ่านข้อมูลนั้น หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์จะสามารถอ่านได้ โดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายหัวอ่านบ่อยหรือมากเกินไป จะทำให้ใช้เวลาในการอ่านได้เร็วขึ้นที่จริงแล้ว ยังมีโปรแกรมของบริษัทอื่น ๆ อีกหลายตัวที่สามารถทำการจัดเรียงข้อมูลให้มีความต่อเนื่องกันได้ เช่น Speeddisk ของ Norton และอื่น ๆ อีกมาก แต่ในที่นี้จะขอแนะนำหลักการของการใช้โปรแกรม Disk Defragmenter ที่มีมาให้กับ Windows อยู่แล้ว ไม่ต้องไปค้นหาจากที่อื่นครับ
ข้อแนะนำก่อนใช้โปรแกรม Disk Defragmenter
เพื่อให้การใช้งาน Disk Defragmenter มีประสิทธิภาพมากที่สุด ก่อนการเรียกใช้โปรแกรม Disk Defragmenter ควรจะเรียกโปรแกรม Walign ก่อนเพื่อการจัดเรียงลำดับของไฟล์ที่ใช้งานบ่อย ๆ ให้มาอยู่ในลำดับต้น ๆ ของฮาร์ดดิสก์ครับ โดยที่โปรแกรม Walign จะทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลการใช้งานไฟล์ ที่มีการเรียกใช้บ่อย ๆ ไว้ และนำมาจัดการเรียงลำดับ ให้อยู่ในส่วนแรก ๆ ของฮาร์ดดิสก์ ดังนั้นการที่เราเรียกโปรแกรม Walign ก่อนการทำ Disk Defragmenter จะเป็นการเพิ่มความเร็วของการอ่านข้อมูลได้อีกทางหนึ่ง โปรแกรม Walign จะอยู่ใน Folder C:\WINDOWS\SYSTEM\Walign.exe ครับ เปิดโดยการเข้าไปใน My Computer และเลือกไฟล์

กดดับเบิลคลิกที่ไฟล์ Walign เพื่อเรียกไฟล์ Walign.exe
โปรแกรมจะเริ่มต้นการ Tuning up Application เมื่อเสร็จแล้วจึงทำการ Defrag ต่อไป
นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญมาก ๆ ในการทำ Disk Defrag คือต้องปิดโปรแกรมต่าง ๆ ที่ทำงานอยู่ในขณะนั้นให้หมดก่อน เช่น Screen Saver, Winamp หรือโปรแกรมอื่น ๆ ที่จะต้องทำให้มีการอ่าน-เขียน ฮาร์ดดิสก์ บ่อย ๆ เพราะว่า เมื่อใดก็ตามที่ฮาร์ดดิสก์มีการอ่าน-เขียนข้อมูล จะทำให้โปรแกรม Disk Defragment เริ่มต้นการทำ Defrag ใหม่ทุกครั้ง ทำให้การทำ Defrag ไม่ยอมเสร็จง่าย ๆ หรืออาจจะใช้วิธีเข้า Windows แบบ Safe Mode โดยการกด F8 เมื่อเปิดเครื่องเพื่อเข้าหน้าเมนู และเลือกเข้า Safe Mode แทนก็ได้
การเรียกใช้โปรแกรม Disk Defragmenter
เรียกใช้โปรแกรม Disk Defragmenter โดยการกดเลือกที่ Start Menu เลือกที่ Programs และเลือก Accessories เลือกที่ System Tools และเลือก Disk Defragmenter ตามรูปตัวอย่าง

เลือกที่ Disk Defragmenter เพื่อเรียกใช้โปรแกรม Defrag
เลือกที่ Drive ที่ต้องการทำ Defrag และกด OK เพื่อเริ่มต้นการทำ Defrag หรืออาจจะเลือกที่ Settings... เพื่อทำการตั้งค่าต่าง ๆ ก่อนก็ได้
Rearrange program files... เลือกถ้าต้องการให้มีการจัดเรียงลำดับการเก็บข้อมูลของไฟล์
Check the drive... เลือกถ้าต้องการให้มีการตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ก่อนการทำ Defrag
This time only เลือกถ้าต้องการให้การตั้งค่าข้างบน มีผลเฉพาะการเรียก Disk Defragmenter ในครั้งนี้เท่านั้น
Every time I degragment... เลือกถ้าต้องการเก็บค่าที่ตั้งไว้ให้ใช้ตลอดไปโดยไม่ต้องเข้ามาเลือกใหม่

เมื่อเลือกได้แล้วก็กด OK (แต่ขอแนะนำให้เลือกใช้ค่าที่ตั้งไว้อยู่แล้ว จะดีกว่าครับ)
เมื่อกด OK ก็จะเริ่มต้นการทำ Disk Defragment ซึ่งระยะเวลาที่ใช้ จะค่อนข้างนานมากนะครับ ประมาณ 1-4 ชม.ทีเดียว ดังนั้นก็นาน ๆ ทำสักครั้งก็พอ ไม่ต้องทำบ่อยนัก ถ้าสงสารฮาร์ดดิสก์ที่ต้องมีการทำงานที่หนัก ๆ มากครับ โดยส่วนตัวผมแนะนำว่า ถ้าไม่มีการลงโปรแกรมต่าง ๆ บ่อยนักก็ไม่จำเป็นต้องทำก็ได้ แต่ถ้าหากรู้สึกว่าฮาร์ดดิสก์ทำงานช้าลงไป ก็ลองทำดูสักครั้งครับ
ข้อควรระวังในการทำ Defrag ฮาร์ดดิสก์
ขณะที่กำลังทำการ Defrag หากต้องการยกเลิกการทำงาน จะต้องกดที่ Stop เท่านั้น ห้ามปิดเครื่องหรือกดปุ่ม Reset เป็นอันขาด ไม่เช่นนั้นข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ของคุณอาจจะสูญหายได้ครับ

หลังจากการใช้งาน Windows ระยะหนึ่งเรามักพบว่าข้อมูลที่บันทึกไว้ถูกจัดเก็บแบบกระจายเป็นส่วนย่อย เนื่องจากข้อมูลถูกเขียนในดิสก์ที่เกิดเป็นช่วงๆ เมื่อมีการอ่านข้อมูล ฮาร์ดดิสก์จึงทำงานได้ช้าลง เพราะต้องเสียเวลาหาข้อมูลแต่ละส่วนที่แยกกันอยู่คนละที่
           Disk Defragmenter สามารถจัดระเบียบข้อมูลที่บันทึกในฮาร์ดดิสก์ได้ใหม่ เพื่อให้การ อ่าน/เขียน ข้อมูลรวดเร็วขึ้น โดย Windows 7 จะกำหนดช่วงเวลาสำหรับรัน Disk Defragmenter อัตโนมัติไว้ให้แล้วสัปดาห์ละครั้ง แต่ถ้าเราต้องการสั่งจัดระเบียบข้อมูลบนดิสก์ด้วยตัวเองก็ทำได้ ดังนี้

           1.เปิดโปรแกรม Disk Defragmenter โดยกดปุ่ม Start > Accessories > System Tools > Disk Defragmenter
Disk-Defragmenter-1

           2.คลิก Defragment disk เพิ่อเริ่มจัดระเบียบข้อมูลบนดิสก์
Disk-Defragmenter-2

           3.โปรแกรมจะทำการจัดระเบียบให้ฮาร์ดดิสก์
Disk-Defragmenter-3

วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

วิธีลง Windows 7 ละเอียดทุกขั้นตอนก่อนติดตั้ง Windows 7

          คอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับลง Windows 7 ควรจะมีสเปคอยู่ในระดับปานกลาง แต่แนะนำว่าควรเป็นคอมพิวเตอร์รุ่นไม่เก่าจนเกินไปนัก และใช้การ์ดจอแบบ 3D ต่อไปนี้เป็นคุณสมบัติของเครื่องคอมพิวเตอร์ขั้นต่ำที่สามารถใช้งาน Windows 7 ได้อย่างราบรื่น
          - ซีพียู ความเร็วขั้นต่ำ 1 GHz (32 bit หรือ 64 bit ก็ได้)
          - แรม ขั้นต่ำ 1 GB
          - พื้นที่ว่าง ในฮาร์ดดิสก์ที่จะ ลง Windows 7 อย่างน้อย 16 GB
          - กราฟิกการ์ด มีหน่วยความจำขั้นต่ำ 128 MB และควรสนับสนุน DirectX9
          - ไดร์ฟ DVD-R/W สำหรับการลง Windows 7 ผ่านแผ่น DVD
          นอกจากคุณสมบัติข้างต้นแล้ว คุณสมบัติบางอย่างของ Windows 7 อาจต้องใช้อุปกรณ์พิเศษเพิ่มเติม เช่น การบันทึกรายการทีวี จะต้องมีการ์ดสำหรับการบันทึกภาพ การใช้งานระบบสัมผัส การเขียนด้วยลายมือ หน้าจอจะต้องรองรับระบบมัลติทัช เป็นต้น

วิธีลง Windows 7
          1.Restart และกำหนดให้เครื่องบูตจากแผ่น DVD โดยขั้นตอนการบูตของ Windows เริ่มต้นให้เรากดปุ่ม F2 หรือ Del แล้วแต่รุ่นของไบออสในคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น ในที่นี้ยกตัวอย่างดังภาพด้านล่าง ซึ่งหลักการก็คือเมื่อเข้าไบออสได้แล้ว ให้ตั้งค่าบูตจากแผ่น CD/DVD เป็นอันดับแรก
          ** ส่วนมากเครื่อง PC จะกดปุ่ม Del
          ** โน๊ตบุ๊คส่วนใหญ่จะกดปุ่ม F2
                   - ในตัวอย่างนี้ให้กดปุ่มลูกศรที่คีย์บอร์ดเลื่อนลงมาเลือก Advanced BIOS Features
install-Windows-7-1

                   - ให้เลื่อนลงมาเลือกตรง First Boot Device กด Enter แล้วเลือกเป็น CD/DVD ROM
install-Windows-7-2

                   - เมื่อตั้งค่าเสร็จแล้วให้กดปุ่ม F10 บนคีย์บอร์ดแล้วพิมพ์ Y หลังจากนั้นกด Enter
install-Windows-7-3

          2.เริ่มขั้นตอนการลง Windows 7 จากแผ่น DVD สังเกตว่าเมื่อเครื่องเริ่มบูตจากแผ่นจะขึ้นข้อความดังภาพ ในขั้นตอนนี้ให้เรากดปุ่มใดๆ บนคีย์บอร์ดก็ได้เพื่อทำการบูต Windows
install-Windows-7-4
install-Windows-7-5
install-Windows-7-6

          3.เลือกภาษาที่ใช้ในระหว่างการลง
          4.เลือกประเทศ ในที่นี้เลือกประเทศ Thai
          5.เลือกวิธีจัดวางคีย์บอร์ดที่รองรับภาษาไทย จากนั้นคลิกปุ่ม Next
install-Windows-7-7

          6.คลิกปุ่ม Install now
install-Windows-7-8

          7.เลือกเวอร์ชันของ Windows 7 ที่ต้องการลง จากนั้นคลิกปุ่ม Next
install-Windows-7-9

          8.คลิก I Accept ยอมรับข้อตกลงเรื่องลิขสิทธิ์  แล้วคลิกปุ่ม Next
install-Windows-7-10

          9.คลิก Custom (Advanced)
install-Windows-7-11

** เรื่องเกี่ยวกับฟอร์แมตพาร์ติชันก่อนลง Windows 7 **
          ก่อนเข้าสู่การลง Windows 7 ขั้นตอนถัดไป หากไดร์ฟ หรือพาร์ติชันที่ต้องการลง Windows 7 เป็นไดร์ฟเก่าที่ยังคงมีข้อมูลเดิมอยู่ เราสามารถเลือกฟอร์แมตไดร์ฟนี้ก่อนได้ เพื่อล้างข้อมูลทั้งหมดบนไดร์ฟที่เลือก และเป็นการจัดระเบียบพื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ใหม่ด้วย
           การฟอร์แมตพาร์ติชันนี้ เราสามารถเลือกใช้คำสั่งระหว่างขั้นตอนการ ลง Windows 7 ได้ทันที โดยในขั้นตอนการเลือกพาร์ติชันสำหรับลง Windows 7 ให้เราคลิกที่ Drive options (Advanced) และเข้าไปเลือกสั่งฟอร์แมตพาร์ติชันก่อนได้ ดังนี้
                   - เลือกพาร์ติชันสำหรับ ลง Windows 7 ที่จะฟอร์แมตก่อน
                   - คลิกที่ Drive options (Advanced)
install-Windows-7-13

                   - จะปรากฏคำสั่งสำหรับจัดการพาร์ติชัน ให้คลิกที่ Format เพื่อสั่งฟอร์แมตพาร์ติชันที่เลือก
นอกจากคำสั่ง Format แล้ว ในส่วนของ Drive options ยังมีคำสั่งอื่นๆ สำหรับจัดการพาร์ติชันที่เลือกอีก ดังต่อไปนี้
          Refresh : ให้โปรแกรมติดตั้งตรวจสอบพื้นที่พาร์ติชันใหม่อีกครั้ง
          Delete : ลบพาร์ติชันที่เลือกอยู่ ผลลัพธ์ที่ได้จะได้พาร์ติชันที่ไม่มีการจัดรูปแบบ (Unpartitioned space)
          New : เลือกสร้างพาร์ติชันใหม่ (ต้องมีพื้นที่พาร์ติชันที่ยังไม่มีการจัดรูปแบบอยู่ด้วย เพื่อดึงพื้นที่ไปใช้)
          Load Driver : โหลดไดรเวอร์ของอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้เพิ่มเติม เช่น ไดรเวอร์ฮาร์ดดิสก์ SATA รุ่นใหม่
          Extend : ขยายขนาดของพาร์ติชันที่เลือก
install-Windows-7-14

                   - แจ้งว่าข้อมูลบนไดร์ฟที่เลือกทั้งหมดจะถูกลบทิ้ง ให้เราคลิกปุ่ม OK เพื่อยืนยันการฟอร์แมต
install-Windows-7-15

                   - โปรแกรมติดตั้งจะทำการฟอร์แมตพาร์ติชัน ให้เรารอสักครู่

          10.เมื่อ Format เสร็จแล้ว ให้คลิกเลือกไดรฟ์ที่จะลง Windows ข้อสังเกตหลังจากเรา Format แล้วพื้นที่ไดรฟ์ในส่วนของ Total Size และ Free Space จะเท่ากัน
          11.คลิกปุ่ม Next
install-Windows-7-12

          12.ขั้นตอนนี้จะมีการก๊อบปี้ไฟล์ลงไดรฟ์ที่เราเลือกลง Windows 7
install-Windows-7-17

          13.บางครั้งอาจมีการ Restart เครื่อง
install-Windows-7-18

          14.จะพบหน้าต่างสำหรับการปรับแต่งครั้งแรกก่อนมีการใช้งาน ให้รอสักครู่
          15.เมื่อขั้นหน้าต่างดังภาพ ให้กรอกชื่อผู้ใช้ (User Name)
          16.กรอกชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ จากนั้นคลิกปุ่ม Next
install-Windows-7-19

          17.ตั้งรหัสผ่าน
          18.กรอกรหัสผ่านเดิมซ้ำอีกครั้ง
          19.กรอกข้อความที่ใช้ไขปริศนารหัสผ่านในกรณีลืมรหัสผ่าน จากนั้นคลิกปุ่ม Next
install-Windows-7-20

          20.กรอก Product Key จากนั้นคลิกปุ่ม Next
install-Windows-7-21

          21.คลิก User recommended
install-Windows-7-22

          22. ตั้งวันที่ และเวลาให้ถูกต้อง หลังจากนั้นคลิกปุ่ม Next
                    - Time zone UTC+07.00 Bangkok,Hanoi,Jakarta
install-Windows-7-23

          23.เสร็จสิ้นขั้นตอนการลง Windows 7
install-Windows-7-24
install-Windows-7-25